1.เพื่อใช้เล่นละครใน ละครในเป็นละครที่เล่นกันในวัง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนๆ
ท่าทางร่ายรำงดงาม อ่อนช้อย เครื่องแต่งกายประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
คำร้องและทำนองเพลงไพเราะ
เดิมมีแต่ละครพื้นเมืองของชาวบ้านที่เล่นกันอยู่นอกพระราชฐาน เรียกว่า ละครนอก
ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน
ครั้นมีละครภายในพระราชฐานขึ้นมาจึงเรียกชื่อเป็นคู่กันว่าละครนอกและละครใน
โดยละครในกำหนดให้เล่นเพียง 3 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา
มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาจารีตประเพณีของราชสำนัก ศิลปะการร่ายรำและท่าทาง
เพลงที่ใช้ประกอบและบทเจรจามีจังหวะนิ่มนวลไพเราะ เพื่อให้สมกับเป็นละครแบบฉบับ
ส่วนละครนอก เป็นละครที่สามัญชนเล่นกันเพื่อความสนุกสนาน ท่ารำและคำร้องเป็นแบบง่ายๆไม่ประณีต เน้นความสนุกสนานเป็นสำคัญ
2. เพื่อป้องกันการสูญหาย และรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป ดังปรากฏในบทนำว่า
“อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง / สำหรับงานการฉลองกองกุศลครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ / แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปหากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น / ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้ / บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน”

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น